วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันพุธ ที่ 19 เมษายน 2560
เนื้อหาการเรียนการสอน
เขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
อาจารย์ได้นำตัวอย่างแผน IEP มาให้นักศึกษาดูแล้วให้นักศึกษาได้ลองเขียนแผน
*ตัวอย่าง*



         จากนั้นอาจารย์ก็ได้นำตัวอย่างผังกราฟฟิคแต่ละรูปแบบ แต่ละหน่วยการสอนที่แตกต่างกันออกไปมาให้นักศึกษาดู เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำผังกราฟฟิคที่ถูกต้องต่อไป

ตัวอย่างผังกราฟฟิค





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เรื่องการเขียนแผน IEP หรือแผนเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นแผนการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษ ได้รู้ถึงรูปแบบการเขียนที่ถูกต้องรวมไปถึงการคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กพิเศษที่ต้องดีขึ้นตามลำดับ ทำให้สามารถนำไปใช้เขียนแผนเฉพาะบุคคลในอนาคตต่อไปได้
ประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ไม่รบกวนเพื่อน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานที่ได้รับ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีผังกราฟฟิคมาให้ดูหลายรูปแบบ

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 12 เมษายน 2560

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดเทศกาลสงกรานต์*


วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 5 เมษายน 2560

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร*

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 29 มีนาคม 2560
เนื้อหาการเรียนการสอน
1. กิจกรรมมือของฉัน
          อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพมือของตนเอง โดยให้คว่ำมือไว้และห้ามดูว่าลายมือของตนเองเป็นอย่างไร ให้เหมือนและเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด แล้วจะให้เพื่อนๆทายว่าใครเป็นเจ้าของมือนี้
       **จุดประสงค์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ คือ เมื่อเห็นพฤติกรรมเด็กต้องเขียนบันทึกไว้ทันที เพราะขนาดมือที่อยู่กับเรามาทั้งชีวิต บางคนยังจำรายละเอียดไม่ได้เลย**

2. กิจกรรมวงกลมหลากสี
          อาจารย์ให้นักศึกษาระบายสีเป็นวงกลมหลากสี วงเล็กหรือวงใหญ่ก็ได้ และบ่งบอกถึงความเป็นตัวเอง ว่าจริงๆแล้วลึกๆ เราเป็นอย่างไร กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้วัดอารมณ์ และพฤติกรรมเด็กพิเศษได้
เนื้อหาการเรียนการสอน 
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
     - แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
     - เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
     - ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
     - โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
     - คัดแยกเด็กพิเศษ
     - ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
     - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
     - เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
     - แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
     - ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
     - ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
     - การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
     - เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
     - ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
     - วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
     - ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
     - ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
     - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
     - ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
     - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
     - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
     - ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
     - เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
     - ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
     - รายงานทางการแพทย์
     - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
     - บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
     - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
     - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
     - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
     - จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
     - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
     - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
     - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้ะยาว
ระยะสั้น
     - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
     - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
     - จะสอนใคร
     - พฤติกรรมอะไร
     - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
     - พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน





3. การใช้แผน
     - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
     - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
     - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
     - จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
     - ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
     - ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
     - ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
     - อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
     - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
     - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
           ได้ความรู้ในเรื่องการใช้ศิลปะเพื่อบำบัด หรือใช้วัดพฤติกรรม อารมณ์ หรือความรู้สึกเด็กพิเศษ รวมไปถึงหลักการทำแผน IEP ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปเขียนเพื่อใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้ 

ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่รบกวนเพื่อน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆตั้งใจเรียนไม่พูดคุยเสียงดังขณะที่อาจารย์สอน 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจสอน และเป็นกันเอง