ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์.

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560

**สัปดาห์สอบกลางภาคไม่มีการเรียนการสอน**


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ศึกษาดูงานการศึกษาแบบเรียนรวม 
ณ โรงเรียนเกษมพิทยา
          เมื่อเดินทางไปถึงที่โรงเรียนเกษมพิทยาคุณครูและบุคลากรให้การต้อนรับดีมากๆ อันดับแรกคุณครูได้มอบหมายให้นักศึกษาเข้าสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษแต่ละห้องโดยให้สังเกตจุดเด่นและจุดที่ต้องได้รับการแก้ไข และพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ศึกษาจากการสังเกตและการสอบถามคุณครูประจำชั้นและรุ่นพี่ที่ฝึกสอน
          เมื่อถึงเวลาเข้าแถวเด็กๆ จะเข้าแถวตามห้องเรียนของตนเองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และจะมีการเต้นแอโรบิคทุกเช้าเพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของเด็ก โดยจะมีเด็กๆ ออกมาเป็นผู้นำเต้นทีละห้อง และมีพี่ๆออกมานำเต้นด้วย เด็กๆน่ารักมาก



          เมื่อเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธงแล้วคุณครูก็ให้นักศึกษาเข้าห้องประชุมเพื่อทำการต้อนรับอย่างเป็นทางการและพบกับผู้อำนวยการโรงเรียน คือ ท่านศรีวรรณ สายฟ้า และมีผู้อำนวยการแผนกอนุบาล คือ ดร.วรนาท รักสกุลไทย 
          เริ่มต้นด้วยการสนทนาเรื่องอาการของเด็กพิเศษที่ได้สังเกตไปคร่าวๆ ก่อนเข้าแถว คุณครูขอตัวแทนผู้ที่สังเกตแต่ละห้องออกไปและเปลี่ยนความรู้กัน

ต่อด้วยการชมวีดีทัศน์ของโรงเรียนเกษมพิทยา

          จากนั้นคุณครูก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเข้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษแต่ละห้องโดยให้หัวข้อการสอบถามและสังเกต คือ
    1. ชื่อ
    2. เพศ
    3. อายุ
    4. ประเภท
    5. พฤติกรรม

การศึกษาการจัดการสอนแบบเรียนรวม ห้อง อ.3/2
คุณครูประจำชั้น : คุณครูกัลยา เทพวงษ์
นักศึกษาฝึกสอน :  นายธนรัตน์ วุฒิชาติ
                                 นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า
                                 นางสาวนีรนุช วงษ์อิสลาม

1. ชื่อ : เด็กชายรัฐนันท์ นิธิวุฒิวรรักษ์ (น้องเน็ต)
2. เพศ : ชาย
3. อายุ : 7 ปี
4. ประเภท : ดาวน์ซินโดรม
5. พฤติกรรม : น้องเน็ตเป็นเด็กร่าเริง มีอาการทางสายตาร่วมด้วย สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนและทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ แต่น้องเน็ตจะมีปัญหาด้านอารมณ์หากไม่พอใจอะไรจะแสดงออกโดยการตี หรือ เรียกร้องความสนใจ (ข้อมูลจากการสอบถามรุ่นพี่ที่ฝึกสอน) แต่ส่วนใหญ่จากการสังเกตน้องเน็ตจะชอบอยู่กับครูมากกว่าอยู่กับเพื่อน ภาษาของน้องยังไม่ชัดเจน แต่กิจกรรมการเคลื่อนไหวน้องจะเคลื่อนไหวได้ดี

1. ชื่อ : เด็กหญิงณิชารีย์ คอลล์ (น้องณิชา)
2. เพศ : หญิง
3. อายุ : 6 ปี 6 เดือน
4. ประเภท : ออทิสติกแฝง
5. พฤติกรรม : น้องณิชาเป็นเด็กยิ้มเก่งและชอบอยู่กับเพื่อนผู้ชายมากกว่าเพื่อนผู้หญิง เวลาน้องเรียนภาษาอังกฤษน้องจะตั้งใจและตอบคำถามของครูได้ตลอด น้องณิชาจะมีปัญหาด้านอารมณ์จะร้องไห้ถ้าไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
          เมื่อครบกำหนดเวลาผู้อำนวยการและครูก็ได้ทำการปิดการศึกษาดูงานในครั้งนี้ โดยตัวแทน (นางสาวอันทิรา จำปาเกตุ) นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้กล่าวคำขอบคุณและมอบของที่ระลึกเพื่อแทนคำขอบคุณทางโรงเรียนที่ให้เราได้มาศึกษาดูงานในครั้งนี้ 





ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้มากมายทั้งเรื่องของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียน หรือเรื่องที่เราต้องเจอในอนาคต ทางโรงเรียนให้การต้อนรับที่ดีมากๆ ได้ออกมาเจอกับสถานการณ์จริงก็ช่วยให้เรามองภาพออกมากขึ้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง
          แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรม มาตรงเวลา
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ มีความตั้งใจเรียนรู้และแต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์คอยดูแลนักศึกษาดีมากให้คำแนะนำตลอดเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560
** ม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดสัมนา **

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)


   - เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
   - เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
   - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD
   - ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
   - กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน  (Reading Disorder)
   - อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
   - อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
   - ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ตัวอย่าง
หาว       >  หาม
ง่วง       >  ม่วง/ม่ง/ง่ง
เลย       >  เล
อาหาร   >  อาหา
เก้าอี้     >  อี้
อรัญ      >  อะรัย

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
   - อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
   - อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
   - เดาคำเวลาอ่าน
   - อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
   - อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
   - ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
   - ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
   - เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder)
   - เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
   - เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
   - เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
   - ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
   - เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
   - เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
   - เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
   - เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
   - เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด

ตัวอย่าง
ปาลแผล   > บาดแผล
รัมระบาล   > รัฐบาล
ผีเสื้อมดุร  > ผีเสื้อสมุทร
ไกรรง       > กรรไกร
เกสรกะ     > เกษตรกร
ดักทุก       > บรรทุก
เสรฐ         > สำเร็จ
ไอระ         > อะไร
เชิย          > เชย
โบณาร     > โบราณ
นาสือ       > หนังสือ
ละเมย      > ละเมอ
   - จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
   - สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
   - เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
   - เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
   - ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic Disorder)
   - ตัวเลขผิดลำดับ
   - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
   - ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
   - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ตัวอย่าง
16 + 8 = 24 **แต่เด็ก LD จะคิดได้เป็น 114 

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
   - ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
   - นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
   - คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
   - จำสูตรคูณไม่ได้
   - เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
   - ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
   - ตีโจทย์เลขไม่ออก
   - คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
   -ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
   1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
   2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
   3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
   4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
   5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
   6. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
   7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
   8. ทำงานช้า

ออทิสติก (Autistic)
   - หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
   - เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
   - ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
   - ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
   - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
   - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
ทักษะภาษา
ทักษะทางสังคม
ทักษะการเคลื่อนไหว
ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่


ลักษณะของเด็กออทิสติก
   - อยู่ในโลกของตนเอง
   - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
   - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
   - ไม่ยอมพูด
   - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ตัวอย่าง
ดูหน้าแม่ --------------------------------------> ไม่มองตา
หันไปตามเสียง -------------------------------> เหมือนหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม -------------------------> เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ -------------> ไม่สนใจคนรอบข้าง
จำหน้าแม่ได้ ----------------------------------> จำคนไม่ได้
เปลี่ยนของเล่น -------------------------------> นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย --------------> มีพฤติกรรมแปลกๆ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา -------------------------> หมหรือเลียตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ ------------> ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง ทำร้านคนอื่นโดยไม่มีสาเหตุ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
   - ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
   - ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
   - ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
   - ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
   - มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
   - ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
   - พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
   - ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
   - มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
   - มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
   - มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
   - สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
   - นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
   - นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
   - วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
   - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย ด้าน (ก่อนอายุ ขวบ)
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
ออทิสติกเทียม
   1. ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
   2. ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
   3. ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant
   - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)    - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinkingได้แก่
Iris Grace เก่งด้านงานศิลปะ

Daniel tammet คิดคำนวณคณิตศาสตร์วิธีที่ไม่เหมือนใครโดยการใช้สี

Kim Peek ความสามารถในการอ่านและจำได้

Tony Deblois ความสามารถเก่งด้านดนตรี

Alonzo Clemons ความสามารถในการแกะสลัก

Stephen Wiltshire มีความสามารถในการวาดผังเมือง

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ รวมไปถึงได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการของเด็กพิเศษประเภทต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้และสามารถรับมือกับเด็กพิเศษได้ หากเราต้องเจอในอนาคต

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
          เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ไม่คุยกับเพื่อนเสียงดังในเวลาเรียน
ประเมินเพื่อน 
          เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา ไม่พูดคุยกันระหว่างเรียน มีการจดบันทึกระหว่างเรียนด้วย
ประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี