ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์.

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2560

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
     - เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
     - ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
     - เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
     - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด เกิดผลดีในระยะยาว
     - เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
     - แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
     - โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
     - การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
     - การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
     - การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
 3. การบำบัดทางเลือก
     - การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
     - ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
     - ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
     - การฝังเข็ม (Acupuncture)
     - การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
     - การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
     - โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
     - เครื่องโอภา (Communication Devices)
     - โปรแกรมปราศรัย

Picture Exchange Communication System (PECS)







บทบาทของครู
     - ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
     - ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
     - จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
     - ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
     - เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
     - การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
     - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
     - เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
     - ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
     - เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
     - ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
     - จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
     - ครูจดบันทึก
     - ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
     - วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
     - คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
     - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
     - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น?
     - อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
     - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
     - ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
     - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
     - ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
     - ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
     - ทำโดย การพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
     - ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
     - การให้โอกาสเด็ก
     - เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
     - ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
     - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
     - ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
     - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
     - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
     - ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
     - การพูดตกหล่น
     - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
     - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
     - ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
     - ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
     - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
     - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
     - ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
     - เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
     - ทักษะการรับรู้ภาษา
     - การแสดงออกทางภาษา
     - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
     - การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
     - ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
     - ให้เวลาเด็กได้พูด
     - คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
     - เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
     - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
     - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
     - กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
     - เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
     - ใช้คำถามปลายเปิด
     - เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
     - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
     - เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
     - การกินอยู่
     - การเข้าห้องน้ำ
     - การเเต่งตัว
     - กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

     - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
     - อยากทำงานตามความสามารถ
     - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
     - การได้ทำด้วยตนเอง
     - เชื่อมั่นในตนเอง
     - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
     - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
     - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
     - ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
      - “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ 
จะช่วยเมื่อไหร่ ?
     - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
     - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
     - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
     - มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
     1.แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
     2.เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
     - เข้าไปในห้องส้วม
     - ดึงกางเกงลงมา
     - ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
     - ปัสสาวะหรืออุจจาระ
     - ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
     - ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
     - กดชักโครกหรือตักน้ำราด
     - ดึงกางเกงขึ้น
     - ล้างมือ
     - เช็ดมือ
     - เดินออกจากห้องส้วม


สรุป
     - ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
     - ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
     - ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
     - ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
     - เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
     - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
     - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
     - เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
     - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
     - อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
     - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
     - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
     - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
     - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
     - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น -------> ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

**กรรไกรที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือหมายเลข1
     - การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
     - ต่อบล็อก
     - ศิลปะ
     - มุมบ้าน
     - ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
     - ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
     - รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
     - จากการสนทนา
     - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
     - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
     - จำตัวละครในนิทาน
     - จำชื่อครู เพื่อน
     - เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
     - จัดกลุ่มเด็ก
     - เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
     - ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
     - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
     - ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
     - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
     - รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
     - มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
     - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
     - พูดในทางที่ดี
     - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
     - ทำบทเรียนให้สนุก
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กพิเศษที่ถูกต้อง รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของคนเป็นครูว่าควรทำอย่างไร มากไปกว่านั้นอาจารย์ยังบอกเทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เด็กพิเศษและเด็กปกติอยู่ด้วยกันอย่างปกติได้ ได้รู้ถึงวิธีการดูแลเด็กพิเศษในรูปแบบต่างๆ อย่างละเอียดอีกด้วย

ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ไม่รบกวนเพื่อน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
     1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
     2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
     3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming) *โรงเรียนเลือกเด็ก คัดเด็กได้
     4. การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education) *เด็กเลือกโรงเรียน

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
     - มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
     - ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
     - ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา(รายวิชาดนตรี ศิลปะเป็นต้น)
     - เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
     - เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
**จะมีห้องเรียนของเด็กพิเศษอยู่แล้ว

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
     - เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
     - มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
     - เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
     - การศึกษาสำหรับทุกคน
     - รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
     - จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
     - การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
     - การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
     - กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
     - เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

ปรัชญา ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถเรียนได้

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาสำหรับทุกคน
ทุกคนควรมีสิทธิ์ทีจะได้รับ
การเริ่มต้นการศึกษา 
และได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือ
เเตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
     - เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
     - เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
     - เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
     - การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
     - เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
     - เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
     - ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
     - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ วัยทองของชีวิต
     - “สอนได้
     - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
(กิจกรรมวาดรูปดอกบัว)

** อาจารย์ให้สังเกตรูปดอกบัวแล้วให้นักศึกษาวาดตามให้เหมือนที่สุด แล้วเขียนบรรยายสิ่งที่เห็นลงไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเขียนความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย แต่ในความเป็นจริงเราเป็นครูเราควรเขียนในสิ่งที่ตาเราเห็นไม่ควรใส่ความรู้สึก หรือความคิดของเราลงไปด้วย **

1.ครูไม่ควรวินิจฉัย
     - การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
     - จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
     - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
     - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
     - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
     *ไม่ตั้งฉายาให้เด็กพิเศษ
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
     - พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
     - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
     - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
     - ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
     - ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
     *พูดเชิงบวกในพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ ควรเริ่มต้นด้วยพูดการชมก่อน
4.ครูทำอะไรบ้าง
     - ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
     - ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
     - สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
     - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
5.สังเกตอย่างมีระบบ
     - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
     - ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
     - ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
6.การตรวจสอบ (แพทย์)
     - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
     - เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
     - บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
7.ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
     - ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ (ต้องมีการวางแผนเสมอ)
     - ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้ (แก้พฤติกรรมทีละอย่าง โดยเริ่มแก้จากพฤติกรรมที่รุนเเรงที่สุดก่อน เช่น ทำร้ายเพื่อน ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายตนเอง)
     - พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
8.การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
     - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
     - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
     - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
     - ให้รายละเอียดได้มาก
     - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
     - โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
     *ไม่ใส่ความรู้สึกลงไป

ตัวอย่างการบันทึก



การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
     - บันทึกลงบัตรเล็กๆ
     - เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
9.การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
     - ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
     - พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
10.การตัดสินใจ
     - ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
     - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
       ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบเรียนร่วมและเรียนรวมของเด็กพิเศษว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร รวมไปถึงการจดบันทึกพฤติกรรม พร้อมยังได้ดูตัวอย่างของอาจารย์ทำให้เราเข้าใจในการบันทึกมากขึ้น เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการแก้ไขพฤติกรรมหรือการรายงานผลพฤติกรรม และพัฒนาการของเด็ก เทคนิคต่างๆ ในการพูดคุยกับผู้ปกครองมากมาย

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
      เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง
ประเมินเพื่อน   
     เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ไม่คุยกันระหว่างเรียน
ประเมินอาจารย์ 
     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นอย่างดี เตรียมการสอนมาอย่างดี