ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์.

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 11 มกราคม 2560
เนื้อหาการเรียนการสอน 
           วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกของภาคเรียนนี้ อาจารย์เริ่มต้นด้วยการแนะนำรายวิชา เกณฑ์การให้คะแนนต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกข้อตกลงต่างๆ ในการเรียนการสอน พร้อมกับแจกใบปั๊มเข้าเรียน เทอมนี้มีซองใสให้ใส่เพื่อเป็นการดูแลรักษาอีกทางหนึ่ง

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
(Children with special needs)

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์
          มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ” หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา
          ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
          สรุปได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึงเด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ การสอนตามปกติ มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล 
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน 
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
           เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด 
มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2. โรคของระบบประสาท
           เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
 ที่พบบ่อยคืออาการชัก
 3. การติดเชื้อ
 
          การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
 4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
          โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
          การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
          ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
          มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
          ภาวะตับเป็นพิษ
          ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS

  • ช่องตาสั้น  
  • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง  
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน 
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น
  • นิโคติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง 
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป
  • แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
  • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม 
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว 
  • ประวัติฝากครรภ์ 
  • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
  • พัฒนาการที่ผ่านมา     
  • การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง   
  • ปัญหาพฤติกรรม   
  • ประวัติอื่นๆ
2. การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต 
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
  • การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ Denver II 
  • Gesell Drawing Test 
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้ทบทวนความรู้เรื่องเกี่ยวกับเด็กพิเศษประเภทต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป และได้รับความรู้ในการรับมือ หรือวิธีปฏิบัติจริงหากเราได้ไปสอนเด็กพิเศษ จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
การประเมิน
ประเมินตนเอง 
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ไม่คุยกับเพื่อนเสียงดังในเวลาเรียน
ประเมินเพื่อน 
          เพื่อนๆตั้งใจแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ไม่พูดคุยกันระหว่างเรียน มีการจดบันทึกระหว่างเรียนด้วย
ประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น